­­­­__________วารสารปัญญา (Wisdom Magazine)__________

 

 

วารสารออนไลน์รายเดือน

เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์วิจัย

ปรัชญาและพระพุทธศาสนา

 

วารสารนี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ท่านผู้อ่านสามารถดาว์นโหลดได้ฟรีโดยไม่มีเงื่อนไข

 

 

 

เจ้าของผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการ

ศาสตราจารย์ ดร. สมภาร พรมทา

ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Email Address: Somparn.P@chula.ac.th

For English Version, Click Here

 

 

ฉบับภาษาอังกฤษ

 

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๗

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๗

 

 

ฉบับภาษาไทย

 

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๔

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๔

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๔

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๔

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๕

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๕

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๕

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๕

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๖

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๖

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๖

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๖

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๗

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๗

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๗

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗

 

 

ใหม่

วารสารปัญญาฉบับ

ศิลปะวรรณกรรม

 

เล่มที่ ๑ ปี ๒๕๕๗

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่ ๒ ปี ๒๕๕๗ กำลังจัดทำ

ดาว์นโหลดได้อีกไม่นานนี้

 

 

โครงการ ‘เสียงแห่งปัญญา’

ชุดที่หนึ่ง

ชีวิตกับการเมือง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สอง

ธรรมะกับการเมือง ตอนที่หนึ่ง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สาม

ธรรมะกับการเมือง ตอนที่สอง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สี่

ทุนกับธรรม ตอนที่หนึ่ง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ห้า

ทุนกับธรรม ตอนที่สอง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่หก

ศาสนากับชีวิต ตอนที่หนึ่ง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่เจ็ด

ศาสนากับชีวิต ตอนที่สอง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

 

ภาพประดับหน้าจอวารสารปัญญา

ชุดที่หนึ่ง

ภาพที่หนึ่ง ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ภาพที่สอง ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ภาพที่สาม ดาว์นโหลดที่นี่

 

 

ภาพที่สี่ ดาว์นโหลดที่นี่

 

 

ชุดที่สอง

ภาพที่หนึ่ง ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ภาพที่สอง ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ภาพที่สาม ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ภาพที่สี่ ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

โครงการภาพพุทธประวัติเชิงทดลอง

โครงการนี้เป็นการทดลองเขียนภาพพุทธประวัติในแนวสมจริง จากการตีความพระไตรปิฎก

ด้วยความเชื่อว่า การนำเสนอศิลปะในแนวสมจริงก็สามารถสร้างความศรัทธาในพระพุทธเจ้าได้

โครงการจะทยอยนำเสนอภาพตามที่ทำเสร็จเป็นระยะ

ภาพที่หนึ่ง พระพุทธเจ้าในช่วงปัจฉิมวัย ทรงปลงอายุสังขาร

ต้นแบบมาจากพระพุทธรูปคันธาระรูปหนึ่ง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ภาพที่สอง พระพุทธเจ้าในช่วงมัชฌิมวัย ประมาณ ๕๕ พรรษา

ดวงตาและจมูกใช้รพินทรนาถ ฐากูรเป็นแบบ

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ภาพที่สาม เจ้าชายสิทธัตถะในคืนที่ตัดสินใจออกบวช

เน้นอารมณ์และความคิดของเจ้าชายที่แสดงออกทางดวงตา

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

 

 

 

ฉบับรวมเล่ม ปีที่หนึ่ง (๒๕๕๓-๒๕๕๔)

ฉบับเปลี่ยนปกใหม่ และปรับรูปแบบข้างในใหม่

ดาว์นโหลดได้แล้ว

ฉบับปกแข็ง

ฉบับปกอ่อน

 

 

 

ฉบับรวมเล่ม ปีที่สอง (๒๕๕๔-๒๕๕๕)

ดาว์นโหลดได้แล้ว

ฉบับปกแข็ง

ฉบับปกอ่อน

 

  

 

 

______โครงการ ‘หนังสือไฟฟ้า’______

หนังสือในโครงการเป็นหนังสือเล่มเหมือนหนังสือกระดาษ

บางเล่มความยาวอาจสองสามร้อยหน้าหรือมากกว่านั้น

ออกแบบเพื่อให้เป็น ‘ของสะสม’ สำหรับท่านผู้อ่าน

เน้นการทำให้สวย ประณีต ทั้งทางเนื้อหาและรูปแบบ

เพื่อเก็บเข้าชุดด้วยกันในวันข้างหน้า

 

 

______แจ้งข่าว______

 

(ครั้งที่ ๓๑ : ตุลาคม ๒๕๕๗)

        มิตรสหายไถ่ถามมาว่า วารสารปัญญายังทำอยู่ไหมหนอ เพราะเห็นเงียบหายไปนาน ตอบว่า ยังทำอยู่แน่นอนครับ ที่หายไปเพราะหนึ่งผมไม่สบายและสองมีงานหลักที่ต้องทำมาก งานทำวารสารนี้เป็นงานรอง แต่เพราะรัก จึงไม่ทิ้ง งวดนี้ผมทำวารสารฉบับภาษาอังกฤษมากำนัล ๓ เล่ม ข้อเขียนในสามเล่มนี้เป็นงานชุดต่อเนื่องว่าด้วยความคิดทางปรัชญาของผมเอง อยากให้อ่านกันดูครับ ฉบับที่ค้างอยู่ทั้งไทยและฝรั่งก็ก้มหน้าก้มตาทำต่อไปครับ ฉบับไทยนั้นเมื่อจบงานชุดพุทธปรัชญาในอภิธรรมปิฎกแล้ว ผมกำลังเตรียมเขียนงานชุดใหม่ ยังไม่บอกว่าชุดอะไร แต่รับรองว่าผมจะหาเรื่องประเทืองปัญญาแปลกๆใหม่ๆ มาให้สัมผัสแน่นอนครับ

 

(ครั้งที่ ๓๐ : พฤษภาคม ๒๕๕๗)

        หายไปนานครับ สถานการณ์บ้านเมืองไม่น่าอภิรมย์ มีผลต่อการทำงานของผม แต่ที่สุดชีวิตและงานต้องเดินหน้า ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง งวดนี้ผมทำวารสารฉบับภาษาไทยมากำนัลแฟนานุแฟนสี่เล่มรวด (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ส่วนฉบับภาษาอังกฤษก็กำลังเร่งรัดจัดทำ คราวหน้าจะให้ออกมาทันกำหนดเวลาแน่นอน มีงานต้องสะสางรออยู่ สะสางแล้วก็จะมาลุยวารสารต่อ รอหน่อยนะครับ ฉบับภาษาอังกฤษนั้นจบข้อเขียนชุด “Wisdom and Politics” แล้ว ตั้งแต่เล่มหน้าเป็นต้นไปจะมีงานชุดใหม่เอี่ยมของผมมากำนัล ขออุบไว้ก่อน ตั้งใจจะทำอย่างนี้มานานแล้วครับ

 

(ครั้งที่ ๒๙ : มกราคม ๒๕๕๗)

        ล่าช้าหน่อย แต่ก็มาตามสัญญาครับ เดือนนี้มีวารสารปัญญาทั้งสองภาษามากำนัลมิตรรักแฟนเพลง ๔ เล่ม (ธันวาคม และ มกราคม) พร้อมกันนี้ก็ถือโอกาสเปิดตัววารสารน้องใหม่ในเครือคือ วารสารปัญญาฉบับ “ศิลปะวรรณกรรม” เชิญพิจารณาครับ มีเรื่องส่วนตัวขอแจ้งสักหน่อย ไม่รู้จะเสียมารยาทหรือไม่ คือผมไปทำสำนักพิมพ์และร้านหนังสือออนไลน์ภาษาอังกฤษเอาไว้ในเฟสบุค ชื่อ “Wisdom Bookshop” อันนี้ทำขายครับ ตั้งใจทำขายให้ต่างประเทศ หนังสือที่ทำขายจะต่างจากที่อยู่ในเว็บไซต์วารสารปัญญาของเรา หมายถึงต่างในทางลักษณะนะครับ คุณภาพนั้นลงว่าผมทำไม่ว่าขายหรือเป็นธรรมทาน เต็มร้อยเสมอ ว่างๆลองแวะไปดูร้านนะครับ จะซื้อหนังสือด้วยก็ดี เป็นร้านอีบุค

 

(ครั้งที่ ๒๘ : พฤศจิกายน ๒๕๕๖)

        เดือนนี้สงสัยผมกินยาผิด ขยันเกินขนาด มีวารสารสามเล่ม หนังสือรูปเขียนสามเล่ม และเพลงสี่ชุด มาฝากแฟนานุแฟน เชิญหาความอภิรมย์สำราญครับท่าน

 

(ครั้งที่ ๒๗ : ตุลาคม ๒๕๕๖)

        เดือนนี้วารสารฉบับภาษาอังกฤษเสร็จสองเล่ม ภาษาไทยหนึ่งเล่ม ที่เหลือกำลังเร่งจัดทำครับ

 

(ครั้งที่ ๒๖ : สิงหาคม ๒๕๕๖)

        วารสารฉบับเดือนสิงหาคมทั้งไทยและอังกฤษเสร็จแล้วครับ ล่าช้าคงไม่ว่ากัน มีงานต้องสะสางมาก สะสางงานเหล่านี้ซาลงบ้างแล้ว จะรีบทำให้วารสารฉบับเดือนต่อๆไปออกเร็วขึ้นครับ สำหรับฉบับภาษาไทย เล่มนี้เป็นเล่มสุดท้ายที่ลงบทความต่อเนื่อง อันเป็นงานที่ผมต้องเขียนส่งจุฬา ฉบับหน้าเป็นต้นไป ผมกะจะเขียนบทความต่อเนื่องในชุด “ปรัชญาการเมืองและสังคม” ลักษณะการเขียนก็คงคล้ายชุด “นิติปรัชญา” ที่เคยทำมาแล้ว หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ท่านผู้อ่านจะได้อ่านงานชุดใหม่ครับ

 

(ครั้งที่ ๒๕ : กรกฎาคม ๒๕๕๖)

        เดือนนี้ผมไม่ค่อยสบาย ฝนตก เป็นไข้หวัดบ่อย วารสารจึงออกล่าช้า สำหรับเดือนนี้ นอกจากวารสารสองเล่ม ไทยหนึ่ง อังกฤษหนึ่ง ยังมีหนังสือที่ผมเขียนใหม่ สดๆร้อนๆ ออกมาเล่มหนึ่งชื่อ “ความเรียงว่าด้วยประชาธิปไตย” อยากให้อ่านกันครับ เราพูดกันมานานครับว่า ประเทศไทยมีปรัชญาหรือนักปรัชญาเป็นของตนเองไหม สำหรับผม ทันทีที่มีคนไทยเขียนหนังสือแสดงความคิดเห็นของตนอย่างเป็นระบบ เป็นตัวของตัวเอง ใช้เหตุผล เพื่อแถลงว่าเขาคิดอย่างไรกับชีวิตมนุษย์ โลก และสังคม ปรัชญาไทยก็เกิด จะดีจะเลวก็ตาม เราก็พูดได้ว่าเรามีนักคิดหรือความคิดของเราเอง หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นเล่มแรกๆที่ผมจงใจให้เป็น “งานทางปรัชญา” ที่มาจากผมแท้ๆเลย ไม่หวังผลอะไรมากดอกครับ ติได้ วิจารณ์ได้ แย้งได้ ปฏิเสธได้หมด ความดีของหนังสือพวกนี้สำหรับผมอยู่ที่การเป็นจุดตั้งต้นของการที่ผู้คนในสังคมจะร่วมกันถก ร่วมกันคิด ร่วมกันหาทางออก ในเรื่องต่างๆ ยิ่งสิ่งที่ผมเขียนมีคนแย้งได้มาก จนกลายเป็นหนังสือที่ล้าหลังไปได้เพียงไม่ถึงปี ก็ยิ่งดีใหญ่ มีข่าวดีเล็กๆ แจ้งแฟนานุแฟนคือ วารสารของเราฉบับภาษาอังกฤษนั้น มหาวิทยาลัยบางแห่งให้เครดิต ถือเป็นวารสารวิชาการระดับนานาชาติ นักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกสมัยนี้เขาต้องพิมพ์งานในวารสารนานาชาติ ลงพิมพ์ในวารสารปัญญาฉบับภาษาอังกฤษของเราก็ถือว่าครบเงื่อนไข เกียรติเช่นนี้สมควรยินดีร่วมกัน ผมในฐานะบรรณาธิการจะสังวรระวังเรื่องคุณภาพ ฉบับภาษาไทยนั้นข้อเขียนที่ลงก็มีการอ้างอิงเป็นปกติในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทและเอกอยู่แล้ว นี่ก็สมควรชื่นใจร่วมกันครับ

        นอกจากหนังสือและวารสาร เดือนนี้มี “งานพูด” ของผมมาเสนอ ๒ เรื่อง เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน ผมได้รับเกียรติให้ไปร่วมพูดกับท่านอาจารย์ระพี สาคริก ลองฟังดูนะครับ ท่านอาจารย์ระพีกับผมไม่รู้จักกันเป็นส่วนตัว แต่ประมาณห้าหกเดือนที่แล้ว ผมได้รับจดหมายจากท่าน เป็นจดหมายส่วนตัว เขียนมาให้กำลังใจและชื่นชมงานที่ผมทำ นี่เป็นมงคลสำหรับผม เนื้อหาจดหมายอ่านแล้วชื่นใจ ปลื้มใจ ทำให้มีกำลงใจที่จะทำงานอย่างที่ทำอยู่นี้มากขึ้น ไม่มีกำลังใจใดดีเท่ากำลังใจจากท่านแฟนานุแฟนดอกครับ ท่านอาจารย์ระพีผมก็ถือว่าท่านรวมอยู่ในคณะแฟนานุแฟนของผม เณรน้อยที่บ้านนอกอ่านงานผมแล้วชอบ มีแรงใจสู้ชีวิต แม้ไม่เขียนจดหมายมาบอก ผมก็ถือว่าเป็นกำลังใจ (ที่ผมจินตนาการเอาเอง) เสมอเหมือนกัน

        งานเพลงและเขียนรูปก็ยังเดินไปตามปกติครับ ผมทำปกหนังสือรูปเขียนมาให้ดูข้างล่าง ดูเหมือนเล่มล่าสุดจะเล่มที่ ๑๘ แล้ว บางเล่มเสร็จแล้ว แต่ยังไม่มีเวลาเอามาลง เพลงชุดใหม่ก็ทำเสร็จแล้ว ยังไม่มีเวลาเอามาลงเช่นกัน จะค่อยๆทยอยเอามาลงนะครับ

 

(ครั้งที่ ๒๔ : มิถุนายน ๒๕๕๖)

        นอกจากวารสารสองเล่ม เดือนนี้ผมมี “เสียงแห่งปัญญา” มาให้ฟัง ๔ ชุด สำหรับหนังสือรูปเขียนผมยังไม่มีเวลาทำ รูปที่เขียนไว้นั้นมากมายหลายร้อยรูป แต่ยังไม่มีเวลาเอามาทำเป็นหนังสือเท่านั้นเอง รอหน่อยนะครับ เพลงก็เช่นกัน อยู่ในหัวจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่มีเวลาไปนั่งทำ ชีวิตนี้ดูท่าจะไม่ได้พัก แต่ก็สนุกนะครับ งานคือการพักผ่อนและการปฏิบัติธรรมอย่างท่านพุทธทาสว่าจริงๆ

 

(ครั้งที่ ๒๓ : พฤษภาคม ๒๕๕๖)

        เดือนนี้ วารสารออกช้าหน่อย เพราะผมมีงานมากเหลือเกิน เนื่องจากเป็นเทศกาลสอบวิทยานิพนธ์ มีวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทั้งในและนอกจุฬาที่ต้องดูแลในฐานะที่ปรึกษาก็ ๕-๖ เล่ม ส่งลูกศิษย์ขึ้นฝั่งหมดแล้ว ตอนนี้งานก็ซาลงบ้าง มีวารสารภาษาไทยมากำนัลแฟนานุแฟน ๑ เล่ม หนังสือภาพเขียนอีก ๒ เล่ม  เชิญหาความบันเทิงทางปัญญาตามสะดวกครับ

 

(ครั้งที่ ๒๒ : เมษายน ๒๕๕๖)

        เดือนนี้ ท่าทางผมขยันผิดปกติ มีงาน ๗ ชิ้นมาฝากแฟนานุแฟนคือ วารสาร ๒ เล่ม และหนังสือภาพเขียน ๕ เล่ม หนังสือภาพเขียนนั้นมาจาก ‘Facebook’ ที่ผมไปเปิดเมื่อสักสองเดือนที่แล้วนี่เอง เป็นทำนองห้องแสดงภาพเขียนอย่างที่เขาเรียกกันว่า ‘Art Gallery’ ผมได้ความคิดว่า การเขียนและแสดงรูปแบบเดิมนั้นเปลืองเวลา แรงงาน และแพง คนไปดูก็ไม่กี่คน จัดงานเสียเอิกเกริกใหญ่โต ก็เลยเป็นที่มาของห้องแสดงภาพออนไลน์ของผมตามที่เห็น วาดทุกวัน ได้รูปพอสมควรแล้วก็เอามารวมเป็นหนังสือ เพื่อเก็บเข้าชุดกันไว้ดูนานๆ จะมีหนังสือแนวนี้อีกครับ ท่าทางจะวิ่งแซงวารสารเสียด้วย เพราะเดือนหนึ่งออกมามากกว่าหนึ่งเล่ม

 

(ครั้งที่ ๒๑ : มีนาคม ๒๕๕๖)

        เดือนนี้ วารสารออกเฉพาะฉบับไทย ฉบับภาษาอังกฤษยังเขียนไม่เสร็จ เห็นว่าทำล่วงหน้าไว้ถึงเดือนเมษายนแล้ว เลยไม่รีบ มีเพลงมาให้ฟังชุดใหม่ด้วยนะครับ ชุด “กีตาร์เดียวดาย” ภาคสาม นอกจากงานประจำ ท่านแฟนานุแฟนจะเห็นว่ามีของใหม่งอกออกมา คือ ผมมีโครงการจะเขียนรูปพุทธประวัติในแนวสมจริง ตามที่รัชกาลที่ห้าท่านอยากเห็น ที่เขียนไม่ใช่เพื่อท่านหรอก แต่เพื่อทดลองว่า งานพุทธศิลป์แนวสมจริงมีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ผมมีข่าวจะแจ้งแฟนานุแฟนอีกเรื่องคือ ผมนั้นว่าไปแล้วชอบเขียนรูปมาก พอๆกับเขียนหนังสือและทำเพลง แต่พบว่า การเขียนรูปมีอุปสรรค คือเขียนเพื่อทำเป็นหนังสือไม่สะดวก ผมพบทางออกคือ มีเฟสบุคของภรรยาที่เธอทิ้งร้าง ผมเลยขอไปรับสัมปทานต่อ แล้วใช้เป็นที่แสดงรูปเขียน ประสบความสำเร็จพอสมควร หากท่านแฟนานุแฟนอยากดูรูปวาดผม ที่วาดทุกวัน ก็ไปดูได้ เจ้าของที่เขาใช้ชื่อว่า Wannee Wannee ไปหาดูกันเอาเองเด้อครับ

 

(ครั้งที่ ๒๐ : กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)

        เดือนนี้ ผมมีงานมาฝากแฟนานุแฟน ๓ รายการ คือ วารสารฉบับไทยและอังกฤษ อย่างละเล่ม กับหนังสือเล่มใหม่ เป็นหนังสือเล่มอันดับที่ ๒๔ เลื่อนลงไปดูและโหลดเลยนะครับ หากสนใจ ช่วงนี้เป็นอะไรไม่ทราบ อารมณ์ศิลปินผมหายไปเสียเฉยๆ จึงยังไม่มีเพลงมาฝาก น่าจะเกี่ยวกับว่าเป็นฤดูแล้ง อารมณ์ศิลปินผมชาติก่อนน่าจะเป็นกบ จึงอยู่ในช่วงจำศีล รอให้หน้าฝนมาเยือนก่อนเถอะครับ เดี๋ยวก็ออกมาเต้นเล่นน้ำฝน พบกันเดือนหน้าครับ

 

(ครั้งที่ ๑๙ : มกราคม ๒๕๕๖)

        ขึ้นปีใหม่นี้ ผมมีอะไรมาให้ท่านผู้อ่านแปลกใจนิดหน่อย เรื่องที่ว่าก็คือ ผมตัดสินใจทำวารสาร “ปัญญา” ของเราออกมาอีกฉบับหนึ่ง คือฉบับภาษาอังกฤษ ออกเป็นรายเดือนเช่นกัน แต่จำนวนหน้าขอเป็นเพียงครึ่งเดียวของฉบับไทยก่อน ที่มาก็เป็นไปอย่างกะทันหัน คือระหว่างที่ผมนั่งดูนักปรัชญาท่านหนึ่งท่านพูดเรื่องพระพุทธศาสนาใน “ยูทูบ” ผมก็เกิดความคิดว่า พวกเราที่อยู่กับพระพุทธศาสนาทุกวี่วัน น่าจะเขียนหรือทำหนังสือเป็นภาษาอังกฤษให้คนที่เขาสนใจพระพุทธศาสนาในโลกเขาอ่านบ้าง เท่านั้นแหละครับ ผมก็ลงมือปั่นอยู่ห้า-หกวัน ก็ได้มาสองเล่ม ช่างประจวบเหมาะอะไรปานนั้นก็ไม่ทราบ ท่านอาจารย์อาวุโสท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ท่านเขียนบทความชิ้นหนึ่งเสร็จก็ส่งมาให้ผมดู ผมเล่าเรื่องที่ผมคิดจะทำวารสาร “ปัญญา” ฉบับภาษาอังกฤษให้ท่านทราบ และเชิญท่านว่าเอามาลงวารสารของเราจะดีไหม ท่านตอบรับทันทีว่า “ดีเลยครับ” ผมก็เลยได้วารสารเล่มที่สามมาอย่างที่เห็น ผมนั้นดังที่เรียน มีอะไรอยู่ในมือก็เอามาแบให้แฟนานุแฟนดูหมด ผมเลยตัดสินใจ ถือเอาปีใหม่เป็นฤกษ์งามยามดี ลงวารสาร “ปัญญา” ฉบับภาษาอังกฤษทีเดียว ๓ เล่มรวด ฉบับภาษาอังกฤษกับไทยนั้นแยกเป็นอิสระกัน เนื้อหาไม่เหมือนกัน ผมหวังว่า ในอนาคตอันไม่ไกลนี้ หากฉบับภาษาอังกฤษลงตัวดี เราน่าจะได้อ่านข้อเขียนของนักคิดด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศิลปะวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของโลกสมัยนี้ ในวารสารที่ทำโดยคนไทยของเราฉบับนี้

        สำหรับฉบับไทย ปีใหม่ผมประเดิมด้วยข้อเขียนที่ผมกำลังเขียนเพื่อส่งให้จุฬา ในฐานะงานที่ต้องทำเพื่อตอบแทนที่จุฬาให้ผมงดสอนหนังสือตั้ง ๑ ปี งานชุดนี้ผมตั้งใจทำมาก อ่านที่ลงในสารวาร “ปัญญา” ฉบับไทยเล่มใหม่ก็จะเห็นว่าผมตั้งใจเพียงใด ที่เอามาลงในวารสารก่อนก็เพื่อให้จุฬาได้บุญจากธรรมทานนี้ด้วย ซึ่งผมทราบดีจากประสบการณ์ว่าจุฬาย่อมอนุโมทนาอย่างเต็มที่ ปีใหม่นี้ มีของขวัญจากท่านผู้อ่านส่งมายังผมหลายลักษณะ อันหนึ่งที่อยากเขียนขอบพระคุณก็คือ ท่านมหาที่เคยเป็นลูกศิษย์ผม ตอนนี้ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่บึงกาฬ (ครั้งหนึ่งเคยเป็นอำเภอหนึ่งของหนองคาย แต่ตอนนี้แยกมาเป็นจังหวัดแล้ว) ท่านทราบว่าผมชอบกินแจ่วบอง ท่านเคยให้โยมแม่ทำมาฝากผมเมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ท่านก็วานโยมแม่ของท่านให้ทำจำนวนมาก ส่งไปรษณีย์มาให้ผม พร้อมด้วยผักชนิดหนึ่งที่คนอีสานดั้งเดิมเขากินกับแจ่วบอง เป็นผักที่เกิดตามทุ่งนา เรียกกันว่า “ผักหนอก” ผมได้มาแล้วก็รีบกินสนองพระเดชพระคุณ ฝีมือแจ่วบองแบบพื้นบ้านนั้นสุดที่จะพรรณนา ยิ่งกินกับผักหนอกด้วยแล้ว ไม่รู้จะบรรยายอย่างไร ผักที่ว่านี้ก็ประหลาด เก็บไว้ในตู้เย็นมาครึ่งเดือนแล้วก็ยังสดๆอยู่ ของธรรมชาติก็อย่างนี้แหละครับ คาดว่าแจ่วบองของท่านมหา ผมคงกินไปได้อีกอย่างน้อยครึ่งปี

วันหนึ่ง ขณะนั่งกินแจ่วบองตอนเย็น ก็นึกถึงแม่ที่เพิ่งตายจากไปสองสามปีก่อน แม่เคยตำแจ่วบองให้ผมสมัยเป็นเณรน้อยเพื่อเอาไปกินที่ภูเวียง ผมไปเรียนบาลีที่นั่น พระเณรเยอะ อดอยากเพราะชาวบ้านเลี้ยงไม่ไหว เลี้ยงได้ก็เพียงข้าวเหนียวเปล่าๆ ไม่มีกับถวาย ก็ได้แจ่วบองฝีมือแม่นี่แหละกินกับข้าวเหนียว เลี้ยงชีวิตมาได้ กินแจ่วบองท่านมหาแล้วอยู่ๆก็เกิดคิดถึงแม่ขึ้นมาทันทีทันใด น้ำตาไหลมาจากไหนก็ไม่รู้ เออหนอชีวิต ที่เขียนมานี้ก็เพื่อเรียนท่านแฟนานุแฟนว่า นี่คือของขวัญปีใหม่ที่ผมถือว่ามีค่ามาก ขออภัยที่เขียนเรื่องกิน เรื่องปาก เรื่องอร่อย แต่อร่อยขนาดนี้ก็ไม่ถึงกับ “อร่อยจนลืมกลับวัด” ดอกครับ ยังกลับวัดถูกอยู่ พบกันเดือนหน้าครับ

 

(ครั้งที่ ๑๘ : ธันวาคม ๒๕๕๕)

        วารสารเล่มใหม่ออกแล้วครับ เดือนนี้ผมขยัน เลยออกได้เร็ว ยังไม่มีเพลงใหม่ๆมาให้ฟัง เพราะที่ทำเอาไว้ก็สำหรับปีใหม่อยู่แล้ว เลยปีใหม่ไปก่อน จะมีชุดใหม่ๆมาให้ฟังกันครับ เรามีโครงการใหม่อันหนึ่งงอกมา เรียกว่าโครงการ “เสียงแห่งปัญญา” ที่มาของโครงการนี้ก็ไม่มีอะไรมากดอกครับ คือผมเองมีกิจต้องรับเชิญไปพูดตามสถานศึกษาหรือสื่อเช่นโทรทัศน์หรือวิทยุอยู่บ่อยเหมือนกัน พยายามที่จะไม่ไป แต่เมื่อเห็นว่าบางงานน่าจะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะก็ไปครับ บางงานปรากฏว่าสิ่งที่พูดมีสาระอยู่บ้าง ก็เลยคิดว่าจะรวบรวมเอามาทำเป็นไฟล์เสียง อย่างเป็นการเป็นงาน รวมไว้ที่นี่ เผื่อว่าท่านแฟนานุแฟนจะได้เปลี่ยนบรรยากาศจากการอ่านสิ่งที่ผมเขียน มาฟังสิ่งที่ผมพูดบ้าง ประเดิมด้วยรายการที่ผมเพิ่งไปพูดที่สถานีโทรทัศน์ของสันติอโศกไม่กี่วันนี่เอง รายการนี้เราออกอากาศก่อนการชุมนุมใหญ่สามสี่วัน ส่วนหนึ่งผมต้องการพูดอะไรกับพี่น้องที่จะไปชุมนุมไล่รัฐบาล ขณะเขียนอยู่นี้ยังไม่ถึงวันชุมนุม ไม่รู้ผลเป็นอย่างไร ผมกับคณะอโศกนั้นคุ้นเคยกัน ให้เกียรติกัน สิ่งที่ผมพูดบางท่านอาจรู้สึกว่าน้ำเสียงค่อนไปทางไม่สนับสนุนการไปชุมนุมเท่าใดนัก ผมเชื่อว่าคณะอโศกนั้นเป็นชุมชนของผู้มีปัญญา ที่สามารถรับฟังความเห็นที่ต่างจากที่คณะตนคิดได้ จึงได้เสนอความคิดไปอย่างที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองอย่างนั้น ผ่านรายการโทรทัศน์ของชาวอโศกเอง ลองโหลดไปฟังดูนะครับ แล้วจะมีรายการใหม่ๆมาเพิ่มเติมตามกาลเวลา

 

(ครั้งที่ ๑๗ : ตุลาคม ๒๕๕๕)

        เดือนนี้พบกันช้าหน่อย แต่ก็ได้พบกันตามเวลา มีวารสาร ๒ เล่ม (เล่มหนึ่งสำหรับเดือนนี้ อีกเล่มสำหรับเดือนหน้า) เพลง ๓ ชุด (เพลงค่อนข้างยาว ๓ ชุดนี้มีเพลงทั้งหมด ๒๙ เพลง) และวารสารฉบับรวมเล่มปีที่ ๑ และ ๒ ที่ออกแบบให้เข้าเป็นชุดเดียวกัน ตอนแรกผมกะจะทำปกของชุดปีที่สองแบบหนึ่ง ดังที่ได้ประกาศไป แต่เปลี่ยนใจ ทำอย่างที่เห็น เพื่อให้เข้าชุดกันทั้งสองปี หวังว่าท่านแฟนานุแฟนจะไม่ว่ากันนะครับ สัญญาบางทีก็เปลี่ยนได้ หากมีเหตุผล

          มีเรื่องหนึ่งอยากเรียนปรึกษาท่านแฟนานุแฟน ที่จริงควรเรียกว่าปรับทุกข์ เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ไม่ใช่เรื่องของผมโดยตรง เป็นเรื่องของคนใกล้ชิด เรื่องมีว่า เมื่อค่ำวานกินข้าวเย็นกัน ผมสังเกตเห็นสีหน้าของภรรยาไม่ค่อยแจ่มใส แต่ก็ไม่ถามอะไร จนเธอออกปากว่าช่วงนี้มีเรื่องต้องใช้เงินมาก แต่ไม่มีเงิน เรื่องมีอยู่ว่า ภรรยาผมนั้นเป็นคนที่เห็นสัตว์เช่นหมาข้างถนนตกทุกข์ไม่ได้ จะต้องเข้าไปช่วยเหลือ แถวบ้านผมมีบ้านริมคลองอยู่มาก หมาข้างถนนก็มาก หมาเหล่านี้ก็หากินตามประสาของมัน ภรรยาผมตอนเย็นๆหลังจากกลับจากที่ทำงานแล้วก็จะปั่นจักรยานเอาอาหารมาเลี้ยงพวกมัน จนเป็นที่รู้กันแถวนี้ว่าเธอเป็นขาใหญ่ ที่ไปไหนสมุนสี่ขาทั้งหลายจะวิ่งตามเป็นขบวน ล่าสุดเธอเล่าว่าแม่หมาข้างที่ทำงานออกลูกมาแล้วถูกรถเหยียบตายไปสองตัว ที่เหลือเธอก็คอยส่งข้าวส่งอาหาร ทั้งแม่และลูก เมื่อลูกมันโตพอแล้วก็จะติดต่อส่งไปยังหน่วยงานเอกชนที่เขารับอุปถัมภ์หมา แต่หน่วยงานเหล่านี้ก็ไม่ได้อุปถัมภ์ฟรีนะครับ เราต้องจ่ายเงินให้เขาจำนวนหนึ่ง บางเดือน ภรรยาผมต้องจ่ายเป็นหมื่น ซึ่งผมก็ยินดี เต็มใจ ดีใจ อนุโมทนา

        ไม่ใช่เฉพาะหมาดอกครับ แถวนี้คนหาเช้ากินค่ำเยอะ ภรรยาผมนั้นรู้จักคนเหล่านี้ดี บางวันเธอก็มาบอกผมว่าอยากจะเจียดเงินไปซื้อรถเข็นขายของให้คุณยายคนหนึ่ง แกมีรถคันเก่า มันเก่ามาก ล้อชำรุด เวลาเข็นของขายต้องใช้แรงมาก เธออยากซื้อรถคันใหม่ให้ ผมก็สนับสนุนทันที แต่ก็อย่างว่าครับ เราเป็นมนุษย์เงินเดือน รายได้หากจะว่ากันตามจริงไม่พอเหลือเก็บดอกครับ ตลอดชีวิต ผมไม่เคยได้จับเงินล้าน อย่างมากก็แสน เมื่อต้องเจียดจ่ายให้แก่งานบุญที่จรมาเนืองๆแบบนี้ เราก็ต้องประหยัด คอมพิวเตอร์ที่ผมใช้ทำวารสารนี้ก็ปาเข้าจะ ๑๐ ปีแล้ว ผมก็ไม่คิดจะเปลี่ยน เพราะเห็นว่ายังทำงานได้ปกติ

        หลังกินข้าวเย็นวันนั้นแล้ว ก่อนนอนผมก็มานึกได้ว่าผมยังมีเพื่อนพ้องน้องพี่ที่อ่านวารสาร “ปัญญา” อยู่ ปกติหากไม่เหลือบ่ากว่าแรงผมจะไม่ออกปากอะไร แต่คราวนี้เพื่อให้คนใกล้ชิดของผมมีใจเบิกบานขึ้นบ้าง ก็เลยอยากส่งข่าวมาบอกกัน ฉันมิตร ฉันพี่น้อง ว่าหากท่านใดพอจะมีเงินบ้าง จะบริจาคผ่านมาทางผมบ้างก็น่าจะดี ถือเป็นการทำบุญ โดยที่บุญนี้เห็นกับตาว่าตกแก่ผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่นคนหาเช้ากินค่ำ หรือหมาข้างถนน หมายเลขบัญชีผมก็อยู่ด้านล่างนี่เองครับ

 

(ครั้งที่ ๑๖ : กันยายน ๒๕๕๕)

        วารสารเล่มใหม่ประจำเดือนกันยายน ๒๕๕๕ ออกมาแล้วครับ เพลงที่บอกว่าจะทำฉลองครบรอบสองปีวารสารเราก็สำเร็จลุล่วง แถมมาให้อีกชุดหนึ่ง ชุดที่แถมมานี้เดิมตั้งใจว่าจะทำออกเดือนตุลาคม แต่เมื่อทำเสร็จเร็วกว่าที่คิดก็ไม่มีเหตุผลที่จะขยักไว้ เพราะผมถือว่าพวกเราล้วนเป็นคนกันเองทั้งนั้นแหละ สรุปเดือนนี้เราได้วารสาร ๑ เล่ม และเพลง ๒ ชุดครับ ไม่น่าเชื่อว่า ๒ ปีที่ผ่านไป เราได้วารสาร ๒๔ เล่ม เพลง ๒๒ ชุด และหนังสือเล่มอีกจำนวนหนึ่ง คิดไปคิดมาโครงการ “ห้องสมุดสาธารณะ” ของเราที่มีวารสารให้อ่านทุกเดือน มีเพลงให้ฟังทุกเดือน และมีหนังสือเล่มที่เรียกว่า “หนังสือไฟฟ้า” ทยอยให้อ่านตามวันเวลาที่เหมาะสมก็ไปของมันได้ดีตามสมควร น่าชื่นใจร่วมกัน ผมในฐานะบรรณาธิการก่อตั้งตอนนี้คิดอะไรหลายอย่างในใจ โดยรวมคืออยากเห็น “ห้องสมุดสาธารณะ” ของเรานี้เติบโตกว้างขวางขึ้น กำลังคิดถึงเพื่อนพ้องในวงวรรณกรรม เราน่าจะเข้ามาร่วมกันเขียนบทกวี เรื่องสั้น และนิยาย เป็นเล่มๆ ให้พี่น้องเราได้อ่าน เขียนแบบให้ดีเลิศไปเลย ออกแบบสวยๆ แล้วใส่ตู้ไว้ ไม่ล็อคกุญแจตามนโยบายทำบุญทางความคิด น่าจะดีไม่น้อย

 

(ครั้งที่ ๑๕ : สิงหาคม ๒๕๕๕)

        วารสารเล่มใหม่ออกมาพร้อมเพลงชุดใหม่ ๓ ชุดรวด ผมกำลังทำเพลงอีกชุดสำหรับเฉลิมฉลองครบรอบ ๒ ปีแห่งการก่อตั้งวารสารเรา ตั้งชื่อชุดว่า “ธรณีกรรแสง” จะไม่อธิบายละครับว่าทำไมทำเพลงชุดนี้ ให้ตีปริศนาธรรมกันเอาเอง นอกจากเพลงที่ทำลงในเว็บไซต์เรา ผมยังไปเปิดแผนกบันเทิงใน Youtube โดยเลือกบางเพลงในเว็บไซต์ของเราไปทำเป็นมิวสิกวิดีโอ ตั้งใจให้เพื่อนต่างชาติที่เข้าเว็บไซต์เราไม่สะดวกได้ดู ว่างๆท่านแฟนานุแฟนไปแวะดูก็ได้ พิมพ์ชื่อผมเป็นภาษาอังกฤษว่า Somparn Promta ลงใน Google หรือ Youtube เท่านี้ก็ได้แล้วครับ ไปฟังในนั้นก็ได้บรรยากาศอีกแบบ เหมือนไปดูคอนเสิร์ต ที่ผมไม่เอาไฟล์พวกนี้มาใส่ในเว็บไซต์เราก็เพราะอยากให้ไปดูที่โน่น Youtube นั้นเป็นตลาดบันเทิงขนาดใหญ่ของชาวโลก บางทีการไปดูที่โน่นก็เหมือนเราตีตั๋วไปดูคอนเสิร์ต คือรู้สึกเหมือนไม่ได้ฟังอยู่คนเดียว อีกเรื่องหนึ่งครับ เกือบลืม เพลงชุด “กีตาร์เดียวดาย” ทั้งสองภาคผมเพิ่มเพลงใหม่เข้าไปชุดละเพลง เพลงที่เพิ่มเข้ามานี้เกิดจากการที่ผมไปทำเพลงลง Youtube นี่แหละ ท่านใดที่โหลดชุดก่อนไปฟังแล้วโปรดทราบว่ามีการเพิ่มเพลงใหม่เข้าไปครับ

 

(ครั้งที่ ๑๔ : กรกฎาคม ๒๕๕๕)

        แล้วผมก็ทำสำเร็จ ชิตัง เม ขอใช้สำนวนชาวธรรมกายหน่อย วารสารเราออกตรงเวลาแล้วครับ เดือนนี้ก็มีเล่มของเดือนมิถุนายนพ่วงมาด้วย นอกจากวารสาร ผมมีเพลงชุดใหม่มาฝากชุดหนึ่ง ชื่อเพลงชุดนี้เป็นภาษาอีสาน แปลได้หลายอย่างเช่น “แปลก” “ต่างไปจากที่เขาทำกัน” หรือแม้แต่ “เพี้ยน” ดูคำแปลภาษาอังกฤษจะเห็นว่าผมตีความคำนี้ในทางดี คือหมายถึงอยากจะลองทำอะไรที่ต่างไปจากที่เขาทำกัน ที่ตั้งชื่ออย่างนั้นเพราะเพลงชุดนี้ผมเอาไวโอลินมาทำเป็นเพลงเต้น แล้วใช้บันไดเสียงไมเนอร์ตามสัญญาที่ว่าจะลองทำ ที่สุดผมลองแล้วปรากฏว่าบันไดเสียงซีที่ผมไม่เคยใช้เลยกลับเหมาะที่สุด ผมก็เรียนรู้เพิ่มเติมตอนนี้แหละครับว่าบันไดเสียงซีไมเนอร์นั้นไม่เลวเลย ให้ท่วงทำนองออกทางเศร้า ปนคึกคักได้ ลองฟังดู ผมฟังเพลงชุดนี้แล้วทำให้นึกไปว่าที่สุดคนเราก็หนีตัวเองไม่ได้ ผมเป็นคนอีสาน ความเป็นอะไรก็ตามแต่ที่เราเรียกว่า “พื้นบ้าน” นั้นผมก็เพิ่งรู้ตอนนี้แหละว่ามีอยู่ในสายเลือดของตัว เครื่องสายอีสานอย่างซอนั้นเล่นได้ทั้งเพลงเศร้าและสนุก ผมเชื่อว่าท่วงทำนองซออีสานที่ฟังมาตั้งแต่เด็ก แล้วลืมไปหมดแล้ว มันยังอยู่ในตัวผม ที่คิดอีกอย่างหนึ่งในตอนนี้คือ ความเป็นของพื้นบ้านซึ่งอาจหมายถึงรสนิยม ความคิด วิธีคิด วิธีมองโลกและเพื่อนมนุษย์ที่มีอยู่ในสายเลือดตนเองนี้ควรได้รับการปลดปล่อยออกมา แม้ในงานทางวิชาการ ดังนั้นหากอ่านงานเขียนผมในช่วงนี้ไปแล้วรู้สึกว่าเขียนอย่างคนบ้านนอกก็โปรดได้เข้าใจ ผมนั้นเรียนมาทางปรัชญาที่ถือกันว่าเป็นศาสตร์ที่สากลที่สุด สอนให้เราคิดอย่างสากลที่สุด แต่เวลานี้ผมคิดว่า ความเป็นสากลที่ว่านั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องขัดกับความเป็นคนบ้านนอกที่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตน คนอินเดียบางคนเป็นนักคณิตศาสตร์ของโลก แต่คณิตศาสตร์ของเขาเจ้าตัวก็บอกว่ามาจากวิธีคิดพื้นบ้าน ไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับคนคนนี้ที่ชื่อ Ramanujan ดูซิครับ

 

(ครั้งที่ ๑๓ : ปลายมิถุนายน ๒๕๕๕)

        วารสารเล่มล่าสุดประจำเดือนพฤษภาคมออกแล้วครับ ฉบับถัดมาเขียนเสร็จแล้ว กำลังตรวจทานความเรียบร้อย เล่มใหม่นี้ผมเขียนเรื่อง “จิตร ภูมิศักดิ์” คืออยากเขียนเล่าว่าผมรู้สึกอย่างไรกับท่านผู้นี้ คอยอ่านนะครับ หน้าตาของเว็บไซต์เราเปลี่ยนไปนิดหน่อยตรงที่ผมทำป้ายชื่อวารสารใหม่ ของเก่านั้นก็สวยอยู่แล้วละครับ แต่ผมเป็นคนทนความซ้ำซากไม่ได้ เลยขออนุญาตเปลี่ยน นอกจากวารสาร ผมมีเพลงชุดใหม่มาให้ฟัง ๒ ชุด ขอพูดถึงชุดสุดท้ายที่ชื่อ “กีตาร์เดียวดาย ภาคสอง” ชุดนี้ผมจงใจลองทำเป็นเพลงเต้น คือฟังแล้วขยับแข้งขาตามได้ แต่เพลงพวกนี้เขามักทำเป็นเพลงสนุก เพลงสนุกในทางดนตรีนั้นส่วนหนึ่งเรานิยามจากบันไดเสียงที่ใช้ทำเพลง ผมนั้นเป็นคนไม่ชอบบันไดเสียงที่เขาใช้ทำเพลงเต้น เช่น ซี ว่าไปแล้ว หากท่านผู้อ่านเป็นคนดนตรี ฟังเพลงผมก็รู้ว่าผมใช้บันไดเสียงทางเศร้าเป็นหลักในการทำเพลง บันไดเสียงที่ผมใช้มีอยู่สองบันไดเท่านั้นคือ ดี กับ เอ หากอยากให้เศร้ามากก็ทำเป็นทางไมเนอร์ ผมไม่เคยเล่นหรือทำดนตรีโดยใช้บันไดซีเลย ไม่ชอบจริงๆ เมื่อคิดจะทำเพลงเต้นก็เลยลองเสี่ยงทำผ่านบันไดเสียงที่ตนผูกพัน คือดีกับเอ เนื่องจากเป็นเพลงเต้น จึงเอาเพียงเป็นทางเมเจอร์ หากท่านผู้ฟังชอบ เห็นว่าพอไปได้ ชุดต่อไปจะลองทำบันไดเดิมนี่แหละ แต่เอาทางไมเนอร์ให้มันรู้แล้วรู้รอดเลยว่าจะทำได้ไหม มีท่านผู้ฟังถามผมมาว่าผมใช้กีตาร์อะไรเล่นเพลงชุดนี้ เป็นเสียงกีตาร์ชนิดหนึ่งที่บ้านเราน่าจะไม่ค่อยมีคนรู้จัก เขาเรียก “กีตาร์อาโลฮา” เป็นกีตาร์พื้นเมืองของฮาวาย มีสิบสาย ทำบนรางเหล็กเหมือนจะเข้ เวลาดีดก็ต้องดีดอย่างดีดจะเข้ มือซ้ายเขาสวมปลอกนิ้วสำหรับรูดสาย จึงมีเสียงรูดที่ไพเราะกังวาน แต่ที่ผมเล่นเป็นกีตาร์อาโลฮาที่ปรับมาใส่เปียโนดิจิตัลแล้ว ซึ่งผมชอบ เพราะเล่นคนเดียวเหมือนเล่นกีตาร์สองตัว ห้าสายเสียงสูงเล่นด้วยมือขวา อีกห้าสายเสียงต่ำก็เล่นด้วยมือซ้าย ตอนเล่นเพลงชุดนี้ บางเพลงผมต้องลุกเล่นเพราะความมันในอารมณ์ เขียนหนังสือนั้นผมเรียบร้อยครับ แต่เล่นดนตรีใส่กันเต็มเหยียด ผมเคยไปที่สยามพารากอนหลายปีก่อน เห็นเขาเอาแกรนด์เปียโน ราคาหลายล้าน มาตั้งขาย เห็นแล้วอยากลองเล่น เพราะไม่มีปัญญาซื้อ จึงไปถามเจ้าหน้าที่ว่าเล่นได้ไหม เธอบอกว่า “เชิญเลยค้า” ผมก็ลองไปนั่งเคาะๆดีดๆ พอเข้ากันได้หลังจากนั้นสักสองสามนาที ผมก็ใส่เต็มเหยียด ลืมตัว มารู้สึกตัวอีกทีตอนหยุดเล่น แล้วพบว่ามีคนมามุงดูเต็มไปหมด มีเสียงปรบมือ คนดูคงเข้าใจว่าเขาเชิญผมมาสาธิตเปียโนราคาแพง นี่แหละครับดนตรี

 

(ครั้งที่ ๑๒ : มิถุนายน ๒๕๕๕)

        วารสารเล่มล่าสุดประจำเดือนเมษายนออกแล้วครับ ฉบับถัดมากำลังเร่งจัดทำอยู่ ตอนแรกผมกะว่าจะเอาฉบับเดือนพฤษภาคมที่ทำเสร็จแล้วมาลงด้วย แต่ยังตรวจทานไม่เสร็จ ไม่อยากเร่งรัดตัวเองมาก ก็เลยชะลอไว้ก่อน ผมทำเพลงชุดใหม่ชื่อ “ไอดินกลิ่นฝน” มาฝากท่านผู้อ่านด้วย นอกจากเพลงและวารสาร นิยายเรื่องใหม่ชื่อ “ความยุติธรรมและการแก้แค้น” ก็เขียนเสร็จแล้ว อยากให้ลองอ่านดู ปกนิยายส่วนที่เป็นปกแข็งผมลองทำออกมาสองปก ตอนแรกกะจะเลือกเพียงปกเดียว แต่ถูกใจทั้งคู่ ทำนองรักพี่เสียดายน้อง เลยเอามันทั้งพี่ทั้งน้องเลย จะว่าหลายใจก็ยอม ตกลงหนังสือเล่มนี้จึงไม่เหมือนเล่มอื่น คือมี ๔ ไฟล์ ปกแข็งสองเล่ม ปกอ่อนเล่มหนึ่ง และสำหรับพิมพ์ออกมาอ่านอีกเล่ม เพลงชุดใหม่ที่ทำมามอบเป็นของขวัญต้อนรับหน้าฝนนี้ ผมทำกะทันหัน เพราะไปฟังเพลง “หยาดน้ำฝน หยดน้ำตา” ประพันธ์เนื้อร้องโดยครูเนรัญชรา เนื้อเพลงนี้สำหรับผมเป็นประจักษ์พยานชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เราเห็นอานุภาพของภาษาไทย ลองอ่านที่ผมถอดมาให้ดูข้างล่างนี้ซิครับ

 

หยาดน้ำจากตานางฟ้าที่ตรมอารมณ์

หลั่งความขื่นขมที่ถมอยู่ในใจตน

หยาดย้อยจากปรางสวรรค์เบื้องบน

สู่กลางแก้มดินในฐานถิ่นคน

นั้นคือหยาดฝนฉ่ำใจ

 

สาดสายพร่างพรายพรมพื้นไร่นาแนวเนิน

ป่าดอนโขดเขินคลองคุ้งทุ่งหนองนองไป

หล่อเลี้ยงพืชพรรณมีผลดอกใบ

โลกเคยหลับใหลพลันฟื้นตื่นใจ

สวยงามสดใสจริงเอย

 

พอแสงทองอาทิตย์ทาบทา

พลันน้ำตานางฟ้าระเหย

เป็นละอองไอน้ำอย่างเคย

ถูกลมรำเพยพัดเลยลอยวน

 

หยาดน้ำจากตานางฟ้าที่ตรมอารมณ์

ฝากมากับลมเป็นฝนพร่างพรมใจคน

แต่น้ำจากตาตอนช้ำกมล

ที่เราหลั่งลอยระเหยกี่หน

ถึงกลายเป็นฝนฉ่ำใจ

 

            เห็นไหมครับว่าภาษาไทยของเรานั้นใช้เป็นแล้วจะงดงามเพียงใด ผมนั้นรักภาษาไทยมาก พยายามศึกษาค้นคว้าอยู่คนเดียวว่าจะใช้อย่างไรจึงจะงาม ตอนอยู่ที่สุทธิสาร บ้านผมอยู่ติดกับบ้านลุงอาจินต์ ปัญจพรรค์ ท่านพูดกับผมว่า “คนเราถ้าคิดงาม ภาษาก็จะงาม” การศึกษาเรานั้นควรมีเป้าหมายอย่างหนึ่งคือการสร้างเยาวชนให้เป็นผู้คิดงาม  คนสมัยก่อนนั้นเขียนหนังสือเพื่อเสนอความงาม แต่งเพลงก็เพื่อเสนอความงาม ผมเองเวลานี้ก็พยายามทำอย่างนั้น โดยอาศัยคนรุ่นเก่าเป็นครู

        ผมทำรูปสำหรับประดับหน้าจอคอมพิวเตอร์มาฝากท่านแฟนานุแฟนสี่รูป หากชอบก็โหลดไปใช้งานได้เลย ตอนทำคิดว่าจะเขียนแบบไหนดี นึกไปได้ว่าผมนั้นเติบโตมากับการ “เขียนลายเส้น” ก่อนอย่างอื่น ก็เลยทำเป็นรูปลายเส้น ต่อไปหากขยันจะทำมาฝากอีก อาจเขียนเป็นแบบอื่น เช่นสีน้ำมัน หรือสีปาสเตล พบกันอีกเดือนหนึ่งครับ

 

(ครั้งที่ ๑๑ : พฤษภาคม ๒๕๕๕)

        ผมสะสางงานประจำเสร็จไปส่วนหนึ่งแล้ว ที่เหลืออยู่สามารถพักไว้สักเดือนหนึ่งค่อยไปทำต่อ ก็เลยมีเวลามาทำวารสาร เพื่อไล่ให้ทันที่เกินมาหลายเดือนแล้ว ก็ได้มา ๓ เล่มครับ แถมด้วยเพลงชุดใหม่อีกชุดหนึ่ง ขณะเอาไฟล์ไปส่งท่านอาจารย์โสรัจจ์ที่ดูแลเซอร์เวอร์เพื่อให้ท่านช่วยอัพเดตเว็บไซต์ ผมก็ยังปั่นวารสารอีก ๒ เล่ม สำหรับเดือนเมษายนและพฤษภาคม คิดว่าราวปลายเดือนนี้คงเสร็จ ตอนนั้นวารสารเราก็ตรงตามเวลาละครับ ขออภัยท่านแฟนานุแฟน คนงานเยอะก็อย่างนี้แหละครับ แต่รักและสนุกที่จะทำงานแบบนี้อยู่ ไม่ต้องห่วงดอกครับ

 

(ครั้งที่ ๑๐ : กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)

        เดือนนี้นอกจากวารสารเล่มใหม่ ผมทำเพลงมาฝากท่านแฟนานุแฟน ๓ ชุด ชุดสุดท้ายนั้นเป็นเพลงในแนวทดลอง คือผมต้องการทดสอบแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์บางอย่างของตน ลองอ่านบทนำวารสารเล่มใหม่ จะทราบรายละเอียดว่าผมต้องการทดสอบอะไร วารสารยังวิ่งตามเก็บให้ทันเวลาจริงอยู่ครับ ช่วงนี้ผมงานมาก เพราะใกล้ปิดเทอม ต้องดูวิทยานิพนธ์และข้อสอบสำหรับลูกศิษย์ ที่ไม่ได้มีเพียงที่จุฬาเท่านั้น จะมีเวลาบ้างก็คงหลังเดือนมีนาไปแล้ว ตอนนั้นหวังว่าวารสารของเราจะออกตรงตามเวลา เรื่องที่จะเขียนเรียงรายเป็นตับครับ เรื่องดีๆทั้งนั้น ผมจดใส่สมุดเอาไว้หมดแล้ว ตอนนี้ก็ ๒๐ กว่าเรื่องแล้ว เสียแต่คนเขียนยุ่งหน่อยเท่านั้นเอง

 

(ครั้งที่ ๙ : มกราคม ๒๕๕๕)

        วารสารเล่มใหม่ของเราออกแล้วครับ เนื่องในเทศกาลปีใหม่นี้ ผมไม่มีอะไรเป็นของขวัญพิเศษ นอกจากเพลงชุดใหม่ที่ทำทีเดียวรวด ๓ ชุด ผมมีบางเรื่องที่ต้องการเล่าเกี่ยวกับเพลง แต่เกรงว่าจะยาวไป เลยเอาไปเขียนเล่าไว้ในบทนำของวารสารเล่มใหม่ ลองอ่านดูนะครับ

 

(ครั้งที่ ๘ : ธันวาคม ๒๕๕๔)

        วารสารและเนื้อหาอื่นๆของเว็บไซต์เราต้องหยุดชะงักไปร่วมสองเดือน เพราะบ้านผมน้ำท่วม ไม่สามารถออกมาจากบ้านได้เลย แต่อยู่บ้านก็ยังพอทำงานได้ ผมทำวารสาร เขียนหนังสือ วาดรูป และทำเพลงเอาไว้จำนวนหนึ่งในช่วงน้ำท่วม เมื่อน้ำลด เข้ามาทำงานได้แล้ว ก็เลยถือโอกาสเอามาฝากท่านผู้อ่าน ตามที่เห็น หน้าตาของเว็บไซต์เราเปลี่ยนไป แต่ก็คงบรรยากาศย้อนยุคอยู่เช่นเดิม ส่วนที่เพิ่มมาอีกอย่างหนึ่งคือเนื้อหาภาคภาษาอังกฤษ สำหรับเพื่อนชาวต่างชาติ สำหรับวารสารเล่มขึ้นปีที่สอง ผมทำเป็นสองฉบับ คือฉบับสำหรับพิมพ์ออกมาอ่านอย่างแรกที่ทำ กับฉบับที่ทำเป็นมีพื้นหลัง สำหรับอ่านในเครื่อง ท่านที่ชอบบรรยากาศหนังสือเก่า ผมจงใจออกแบบวารสารฉบับมีพื้นหลังให้ดูเป็นหนังสือเก่า ลองพิจารณาดูนะครับ

 

(ครั้งที่ ๗ : สิงหาคม ๒๕๕๔)

        วารสารเล่มใหม่ออกแล้วครับ ล่าช้าไปหน่อย เพราะผมมัวแต่ตามใจอารมณ์ศิลปินของตน เรื่องคือว่า ที่ผ่านมาผมเกิดอยากวาดรูปและทำเพลง จึงไปทำงานตามอารมณ์นี้ก่อน เสร็จแล้วจึงมาทำวารสารที่เป็นงานเชิงเหตุผล สรุปคือพบกันคราวนี้ ผมเขียนรูปชุดใหม่มาให้ดู ทำเพลงชุดใหม่ด้วย ส่วนหนังสือที่ติดค้างจากเดือนก่อนก็ทำสำเร็จลุล่วง เหลือเล่มหนึ่งของเดือนสิงหาคมนี้ที่ขออนุญาตเลื่อนไปเป็นเดือนหน้านะครับ จะพยายามระงับอารมณ์ศิลปินแล้วเขียนหนังสือและวารสารให้ออกตรงเวลา

 

(ครั้งที่ ๖ : กรกฏาคม ๒๕๕๔)

        สำหรับเดือนกรกฎาคมนี้ นอกจากวารสารฉบับเดือนกรกฎาคม ผมมีหนังสือมาฝากท่านผู้อ่านเพิ่มเรื่องหนึ่งคือเรื่องสั้นชุด “กลับบ้านเก่า” หนังสือเล่มนี้ดูเหมือนจะเป็นเล่มแรกในบรรดาหนังสือในเว็บไซต์ของเราที่มีท่านผู้อ่านบางท่านเขียนจดหมายมาถามความคืบหน้าว่าเมื่อไหร่ผมจะเขียนเสร็จ ตอนนี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ หนังสืออีกเล่มคือ “มรณยุติธรรม” นั้นที่จริงผมทำเสร็จแล้ว แต่เนื่องจากหนังสือหนาเกือบ ๓๐๐ หน้า ผมยังอ่านตรวจตราความเรียบร้อยในขั้นสุดท้ายไม่เสร็จสิ้นกระบวนความ เชื่อไหมครับว่า บางครั้งการอ่านทวนเพื่อหาคำผิดนั้นใช้เวลามากกว่าเขียนเสียอีก เล่มนี้ผมอ่านทวนใช้เวลาไปแล้ว ๗-๘ วันได้ไม่ถึงครึ่งเล่มเลย ผมจึงขออนุญาตยกไปเป็นเดือนหน้า เพราะเกรงว่าหากรอ วารสารเล่มใหม่ที่ทำเสร็จนานแล้วก็จะไม่ได้ออก ต้องกราบขออภัยท่านแฟนานุแฟนด้วยนะครับ

        นอกจากหนังสือและวารสาร เดือนนี้ผมมีเพลงมาฝากอีกหนึ่งชุด และกำลังเตรียมเพลงชุดใหม่อีกหนึ่งชุด สำหรับเพลงชุดใหม่ของเดือนนี้ตั้งชื่อชุดว่า “คีตาวารี” ผมจงใจเล่นเป็น “เดี่ยวเปียโน” หมดทั้งชุด การเดี่ยวเปียโนนั้นปกติเขามีไว้สำหรับคนที่มีฝีมือ ผมนั้นไร้ซึ่งฝีมือ จึงไม่มีอะไรจะอวดในเชิงเทคนิค หากจะมีอะไรอวดก็คงเป็น “อารมณ์” ที่อยู่เบื้องหลังการเคาะคีย์เปียโน รวดเดียว ไม่ได้คิด ไม่ได้วางแผนอะไรทั้งนั้น ลองฟังดูนะครับ

        เดือนนี้เว็บไซต์ของเราได้เปิดตัว “งาน” อีกแผนกหนึ่งของผมคืองานเขียนรูป ประเดิมรูปชุดแรกด้วยรูปที่ผมเขียนไว้สมัยที่ยังบวชอยู่และลาสิกขาใหม่ๆ ประมาณ ๓๐ ปีที่แล้ว ว่าไปแล้วการเขียนรูปเป็นงานที่ผมรักมากอย่างหนึ่ง พอๆกับเขียนหนังสือและเล่นดนตรี ผมตั้งใจว่าจะหาโอกาสเขียนรูปชุดใหม่ๆมาให้ท่านผู้อ่านได้ดูกัน แต่ตอนนี้ดูงานเก่าๆไปก่อนนะครับ

 

(ครั้งที่ ๕ : มิถุนายน ๒๕๕๔)

        วารสารฉบับเดือนมิถุนายนออกแล้วครับ แถมด้วยเพลงชุดใหม่ ที่จริงตอนแรกผมกะจะวางตลาด (พูดเหมือนกับว่าจะทำขายอย่างนั้นแหละ) ช่วงเดือนสิงหาคม ที่ปกก็เขียนไว้อย่างนั้น แต่เอาไปเอามา ในฐานะพี่น้องคนกันเองทั้งนั้น ผมคิดว่าเมื่อมีของอยู่ในมือเสร็จแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะขยักไว้ ก็เลยเอามาปล่อยอย่างที่เห็น ผมทำเพลงชุดนี้จากความรู้สึกในวันหนึ่งหลังจากฟังเพลง “พญาโศก” ต้นฉบับ กับฉบับที่บรรเลงเป็นวงใหญ่แบบฝรั่ง ที่ใช้ในงานเคลื่อนพระศพสมเด็จพระพี่นาง ต้นฉบับของไทยนั้นงามอย่างไม่สงสัย แต่ฉบับที่บรรเลงผ่านวงใหญ่อย่างของฝรั่ง ผมรู้สึกว่าไม่งามเท่าที่ควร เพราะขาดมิติทางด้านลึก ได้แต่มิติทางความยิ่งใหญ่โอ่อ่ามโหฬารเพราะบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสารพันชนิดเท่านั้น ว่าแล้วผมก็ถามตัวเองว่า ทำเพลงแห่ศพหรือกล่อมศพด้วยเครื่องสายหรือวงใหญ่อย่างฝรั่งลองดูดีไหม ก็เลยได้เพลงชุดนี้มา

        เพลงหมายเลข ๐๐๑ และ ๐๐๒ นั้นตั้งใจทำเป็นเพลงต่อเนื่อง ท่วงทำนองหลักได้มาจากเพลงเก่าแก่ของเราที่ชื่อ “ธรณีกรรแสง” โดยช่วงเริ่มต้นเพลง ผมดัดแปลงทำนองของเพลงที่ชื่อ “ทุ่งกุลาร้องไห้” ขับร้องโดยนักร้องเอกคนหนึ่งของอีสานเมื่อหลายสิบปีก่อนชื่อ ศักดิ์สยาม เพชรชมภู มาใส่เป็นท่อนเปิด เพลงที่เหลือก็มาจากการแต่งไปเล่นไปรวดเดียวจบ เหมือนชุดแรกครับ

 

(ครั้งที่ ๔ : พฤษภาคม ๒๕๕๔)

       วารสารฉบับประจำเดือนพฤษภาคมของเราออกแล้วครับ อาจล่าช้านิดหน่อย นอกจากวารสาร หนังสือเล่มที่ประกาศว่าจะออกก็ออกมาเรียบร้อยด้วย แถมมีเล่มพิเศษอีกเล่มหนึ่งเป็นบทกวีที่ออกมาโดยไม่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าด้วย สำหรับเดือนนี้ เรามีโครงการพิเศษอันหนึ่งเพิ่มเข้ามาอย่างไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าคือโครงการ “ดนตรี” ประเดิมด้วยเพลงชุดหนึ่งที่ผมแต่งเองและเล่นเอง รายละเอียดว่าทำไมจึงมีเพลงชุดนี้ออกมา ท่านผู้อ่านสามารถอ่านได้ในบทบรรณาธิการของวารสารเล่มล่าสุดนี้ เรื่องผมกับดนตรีนั้นเป็นเรื่องยาวครับ ผมกะจะเขียนเรื่องนี้เต็มๆในวารสารของเราสักเล่ม อาจจะเป็นเล่มหน้าก็ได้ ผมนั้นคนมักทราบว่านอกจากเขียนงานวิชาการ ก็เขียนนิยาย เรื่องสั้น บทกวี เขียนรูป และเขียนการ์ตูนด้วย แต่ไม่น่าจะมีใครรู้ว่าผมเล่นดนตรีด้วย ลองโหลดเพลงไปฟังดูนะครับ แล้วสักวันผมจะเขียนเรื่องเพลงหรือดนตรีในทัศนะของผมให้อ่าน เขียนตรงนี้ไม่ได้ เพราะเรื่องมันยาว

        สำหรับวารสาร เล่มนี้มีข้อเขียนที่ผมเขียนถึงท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ อย่างตรงๆ และยาว ผมเขียนเรื่องนี้เพราะความรู้สึกบอกว่าผมควรเขียนอะไรถึงท่านเจ้าคุณอย่างเป็นการเป็นงานได้แล้ว ลองอ่านดูนะครับ คิดเห็นอย่างไรก็เขียนจดหมายมาบอกกันบ้าง มีท่านผู้อ่านหลายท่านเขียนจดหมายมาหาผมว่า เนื้อที่ของวารสารควรมีสักสี่-ห้าหน้าที่ลงพิมพ์จดหมายจากผู้อ่าน ผมเห็นด้วย ดังนั้น ฉบับต่อๆไป หากมีจดหมายจากท่านผู้อ่านเข้ามา และผมเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ก็จะคัดลงพิมพ์ในวารสาร ให้อยู่นานๆ เป็นหลักเป็นฐานทางประวัติศาสตร์ครับ

 

(ครั้งที่ ๓ : กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔)

       ผมต้องขออภัยท่านผู้อ่านที่เดือนนี้วารสารเราออกล่าช้า แต่ที่สุดก็ยังออกทันภายในกำหนดอยู่ ผมหวังว่าวารสารฉบับใหม่ล่าสุดประจำเดือนกุมภาพันธ์นี้จะเป็นที่ถูกอกถูกใจแฟนานุแฟนที่ชอบอ่านข้อเขียนยาวๆของผมที่ชวนให้คิดโน่นคิดนี่ไปเรื่อย หนังสือเล่มที่ประกาศว่าจะออกเดือนนี้คือเรื่อง “เกิดแก่เจ็บตาย” นั้นผมขออนุญาตเลื่อนไปอีกหนึ่งเดือน ที่จริงทำเสร็จแล้ว แต่เนื่องจากเป็นหนังสือเล่มใหญ่พอสมควร หนาประมาณ ๓๐๐ หน้า ผมต้องการตรวจตราความเรียบร้อยอีกสักรอบหนึ่ง จึงต้องขออภัยที่จำต้องเลื่อนเวลาออกไป เพื่อเป็นการชดเชย ผมเลยทำหนังสือประเภทนอกรายการมาเสนอท่านผู้อ่าน ๔ เล่มเลยรวดเดียว ดูจากด้านล่างแล้วดาว์นโหลดได้เลยครับ

            ผมมีเรื่องหนึ่งอยากเรียนปรึกษาท่านผู้อ่านคือ วารสารนี้ผมรู้สึกว่าเป็นของเราทุกคน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งแม้แต่ตัวผมเองก็ตาม ในการดำเนินงาน เวลานี้ผมทำทุกอย่างเพียงคนเดียว การทำงานคนเดียวนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียคือ ผมมักอ่านคำผิดไม่ค่อยเจอ เพราะตอนอ่านสมองจะเป็นผู้อ่าน ตามักไม่ทันสมอง คำผิดสมองก็มักอ่านถูก เนื่องจากมันเป็นผู้เขียนเอง ผมอยากปรึกษาว่า หากท่านอ่านงานที่ผมเขียน ไม่ว่าจะเป็นวารสารหรือหนังสือเล่ม แล้วพบคำผิด ช่วยเขียนมาบอกผมจะได้ไหมครับ การทำหนังสือไฟฟ้านั้นดีอย่างตรงที่สามารถแก้คำผิดได้เสมอ เมื่อถึงกำหนดของเดือนใหม่ วารสารและหนังสือเล่มใหม่ก็ออก ไปพร้อมๆกับการแก้คำผิดในของเดิม ทำได้อย่างนี้จะช่วยให้หนังสือของเราไม่มีคำผิด หรือมีก็แต่น้อย เพราะท่านผู้อ่านช่วยตรวจครับ

 

(ครั้งที่ ๒ : มกราคม ๒๕๕๔)

       ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ กับท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านงานของผมผ่านเว็บไซต์แห่งนี้ เมื่อขึ้นปีใหม่ ผมตัดสินใจว่าจะให้วารสารของเราขึ้นเป็นปีที่ ๒ แล้วฉบับแรกของปี ๒๕๕๔ ก็เริ่มตั้งต้นนับเป็นฉบับที่ ๑ หรือว่าจะนับต่อไปเป็นปีที่ ๑ เหมือนเดิม แล้วฉบับล่าสุดก็จะเป็นฉบับที่ ๔ วารสารต่างประเทศบางเล่มเขาออกกลางปีหรือปลายปีแบบเรานี่แหละ พอขึ้นปีใหม่เขาก็นับเป็นปีถัดไป แต่บางเล่มก็นับต่อเนื่องกันไป ผมคิดว่าเราเอาแบบปีของงาน คือหนึ่งปีจะได้วารสารจำนวน ๑๒ เล่มดีกว่า ไม่ต้องคำนึงถึงปีในทางปฏิทิน เมื่อวารสารเราทำเล่มที่ ๑๓ เมื่อใดก็จะปัดขึ้นเป็นปีที่ ๒ เมื่อนั้น ซึ่งอาจมีการคร่อมปีในทางปฏิทินก็ไม่เป็นไร ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของวารสารเราก็แล้วกัน อีกอย่างหนึ่ง จะโดยอะไรก็ไม่ทราบ วารสารของเราเล่มแรกนั้นออกเดือนตุลาคม อันเป็นเดือนที่มีความหมายมากในทางการเมืองและสังคมไทย เราจะช่วยกันจำปฏิทินของวารสารเราว่า ครบเดือนตุลาคมเมื่อใดก็ได้ฤกษ์ขึ้นปีใหม่สำหรับวารสารเมื่อนั้น ดีไปอย่าง จำง่ายดีครับ

        สำหรับเดือนนี้ ผมมีหนังสือใหม่งอกมาเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่าน ท่านผู้อ่านที่มีลูกกำลังเรียนชั้นมัธยมต้นจะโหลดไปให้แกอ่านก็ดีเหมือนกัน นอกจากเล่มที่ต้องทำตามวาระดังที่ประกาศไว้ ตอนนี้ผมกำลังแอบเขียนหนังสือนอกเหนือจากที่แถลงไว้อยู่สองสามเล่ม อ่านบทนำในวารสารเล่มใหม่ก็จะทราบว่าอะไรคือแรงบันดาลใจของการทำอย่างที่ว่านั้น สำหรับวารสารเล่มใหม่ มีเรื่องอ่านเพียงเรื่องเดียวครับ เขียนเป็นเรื่องสั้นขนาดยาว เป็นงานที่อาศัยรูปแบบทางวรรณกรรมเพื่อสื่อสารบางสิ่งที่ผมคิดอยู่ ท่านผู้อ่านที่อ่านงานในลักษณะนี้ของผมโปรดเข้าใจด้วยนะครับว่า ตัวละครในเรื่องที่พูดวิจารณ์อะไรออกไปไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแทนความคิดของผมเสมอไป (ประเดี๋ยวท่านที่รู้สึกเหมือนว่าถูกวิจารณ์ท่านจะโกรธผม) แต่ตัวละครเช่นนี้ผมมั่นใจว่ามีจริง ดังนั้นการที่คนเหล่านี้แสดงความเห็นอะไรลงไปเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดในสังคมเรา ผมในฐานะผู้เนรมิตตัวละครเหล่านี้ขึ้นกล้ารับประกันว่ามีคนที่คิดอย่างนี้จริงๆ บางคนผมรู้จักดีด้วยซ้ำไป

        มีเรื่องที่ผมสมควรแจ้งท่านผู้อ่านนานแล้วแต่ลืมแจ้งก็คือ พื้นที่ของเว็บไซต์นี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก “ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ของจุฬาอันมีท่านอาจารย์โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์เป็นผู้อำนวยการ เว็บไซต์ของศูนย์ที่ว่านี้คือ  “www.stc.arts.chula.ac.th” ซึ่งหากท่านผู้อ่านสังเกตที่อยู่ของวารสารเราก็จะเห็นว่าเป็นที่อยู่เดียวกัน ท่านอาจารย์โสรัจจ์ท่านเอื้อเฟื้อส่วนหนึ่งของบ้านให้เราอยู่ อันนี้เราต้องช่วยกันขอบพระคุณท่าน อาจารย์โสรัจจ์กับผมนั้นชอบพอและทำงานด้วยกันมานาน หลายครั้งท่านทำงานแบบปิดทองหลังพระอยู่ข้างหลังผม เอาไว้สักวันผมจะค่อยๆเล่าว่าท่านช่วยสนับสนุนงานของผมอะไรบ้าง ศูนย์ของท่านอาจารย์โสรัจจ์นั้นตั้งขึ้นเพื่อศึกษาวิจัยผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อจริยธรรมของมนุษย์ เรื่องของเรื่องนั้นก็คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นก้าวหน้าเร็วมาก และหลายอย่างก็ส่งผลให้คนในโลกไม่สบายใจในทางจริยธรรม เช่นนักวิทยาศาสตร์เขาโคลนมนุษย์ได้ คนก็เป็นห่วงว่าสังคมเราสมควรอนุญาตให้ทำของพรรค์อย่างนี้ไหม ศูนย์ของท่านอาจารย์โสรัจจ์นั้นตั้งขึ้นเพื่อศึกษาและตอบปัญหาพวกนี้แหละครับ ผมเองส่วนหนึ่งของชีวิตก็ทำงานเป็นลูกน้องอาจารย์โสรัจจ์อยู่ที่ศูนย์นี้ด้วย

            มีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นกับหนังสือไฟฟ้าที่ให้ดาว์นโหลดคือ ท่านผู้อ่านบางท่านเขียนจดหมายมาบอกผมว่าท่านยังไม่ชอบอ่านหนังสือผ่านคอมพิวเตอร์ หนังสือทุกเล่มก่อนหน้านี้ผมทำเพื่อให้อ่านผ่านเครื่อง จึงออกแบบให้หน้าหนังสือมีพื้นหลัง เมื่อพิมพ์ออกมาลงกระดาษพื้นหลังนั้นก็ติดมาด้วย ดูไม่งามตา ท่านจึงบอกว่าจะดีมากหากว่าผมจะทำอีกสำเนาหนึ่งสำหรับพิมพ์ ผมเห็นด้วย ดังนั้นต่อไปนี้ หนังสือแต่ละเล่มจะมี ๓ ไฟล์คือ ปกแข็ง ปกอ่อน และฉบับสำหรับพิมพ์ออกมาอ่าน สองฉบับแรกสำหรับอ่านในเครื่อง ส่วนฉบับที่สามสำหรับท่านที่ยังถนัดอ่านบนกระดาษอยู่ ออกแบบไม่ให้มีพื้นหลัง เพื่อให้พิมพ์ออกมาสะดวก สำหรับวารสารนั้นออกแบบสำหรับพิมพ์ลงกระดาษ หากท่านผู้อ่านท่านใดอยากได้ฉบับอ่านในเครื่อง เดี๋ยวสิ้นปี เมื่อได้วารสารครบ ๑๒ เล่ม ผมจะรวมเล่ม ทำปกสวยๆ แล้วทำฉบับหนึ่งเป็นฉบับมีพื้นหลังแจกจ่ายกันอ่านครับ

 

(ครั้งที่ ๑ : พฤศจิกายน ๒๕๕๓)

เนื่องด้วยตอนนี้ผมเกิดความขยันผิดปกติ ส่งผลให้มีหนังสือไฟฟ้างอกขึ้นมาใหม่ จากที่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าจำนวนหนึ่ง ดูได้จากด้านล่างสุดของเว็บครับ (เข้าใจว่าอาจเป็นอิทธิพลของลมมรสุมที่ทำให้ฝนตกชุก งานของผมเลยงอกเหมือนหน่อไม้อะไรทำนองนั้น ไม่แน่ว่าหากฝนแห่งชีวิตของผมเกิดชุ่มฉ่ำตลอดปี ก็อาจมีหน่อไม้ทำนองนี้งอกมาให้ท่านผู้อ่านได้แปลกใจอยู่เนืองๆก็เป็นได้) นอกเหนือจากวารสาร ตอนนี้ท่านผู้อ่านสามารถดาว์นโหลดหนังสือเล่มได้แล้ว ๔ เล่มด้วยกัน สำหรับหนังสือเล่มแรก(รากเหง้าเราคือทุกข์)นั้น ตอนนี้ผมได้ปรับรูปเล่มใหม่ และแก้คำผิดบางแห่ง ท่านผู้อ่านที่มีฉบับแรกแล้วจะโหลดฉบับใหม่นี้ไปอ่านด้วยก็ดี สำหรับหนังสือชุดใหม่ ผมได้ตัดสินใจทำแต่ละเล่มเป็นสองฉบับ คือปกแข็งกับปกอ่อน ปกแข็งนั้นออกแบบให้เป็นปกหนังอย่างหนังสือโบราณของฝรั่ง (หนังปลอมครับ เนรมิตด้วยโปรแกรมสองสามอย่าง ไม่ได้เบียดเบียนสัตว์จริงๆเลย) เข้าชุดกันทั้งหมด (ปกอ่อนคือที่แสดงให้เห็นในเว็บ ส่วนปกแข็งดูตัวอย่างได้ด้านล่างของเว็บครับ) ส่วนเนื้อหาด้านในนั้นเหมือนกัน มีหนังสือเล่มหนึ่งของผมเป็นนวนิยาย ท่านผู้อ่านโปรดอย่าได้แปลกใจ งานวิชาการตามความคิดของผมนั้นไม่จำเป็นต้องแยกทำและเผยแพร่ต่างหากจากงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ ก่อนจะมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือนั้น ผมหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์มาก่อน หนังสือเล่มแรกๆในชีวิตผมนั้นเป็นเรื่องสั้นและบทกวี เข้าใจว่าจะมีงานในแนวนี้ของผมออกมาให้ได้อ่านผสมผสานกับงานวิชาการครับ โปรดติดตามต่อไป

อีกอย่างหนึ่งครับ หนังสือและวารสารทุกเล่มผมออกแบบเพื่อให้อ่านในเครื่อง จะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอ่านหนังสือไฟฟ้าแบบพกพาก็ได้ ให้ท่านผู้อ่านสั่งโปรแกรมให้เปิดหน้าแรกคือหน้าปกเป็นหน้าเดี่ยว ส่วนหน้าที่เหลือเป็นสองหน้า ซ้ายมือคือหน้าคู่ ขวามือคือหน้าคี่ จากนั้นให้เปิดโปรแกรมเป็นโหมดเต็มจอ (Full Screen Mode) เท่านี้ท่านก็จะได้ประสบการณ์เหมือนการอ่านหนังสือจริงๆทุกอย่าง แถมดีกว่าตรงที่ไม่ต้องถือหนังสือให้เมื่อยมือ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์มันตั้งอยู่ของมันเองครับ

มีท่านผู้อ่านบางท่านเขียนจดหมายไปหาผม บอกว่าอยากส่งเงินมาสนับสนุน และเห็นว่าหากผมให้บัญชีธนาคารก็จะสะดวกแก่ท่านมากกว่าวิธีอื่น ผมคิดว่าผมทดลองงานมาระยะหนึ่งแล้ว น่าจะเชื่อได้ว่าผมสามารถทำงานตามที่ตั้งใจไว้ได้ จึงตัดสินใจให้บัญชีธนาคารดังนี้ครับ

 

บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด สาขาสยามสแควร์

เลขที่บัญชี: ๐๓๘-๒ ๙๓๙๗๐-๕

ชื่อบัญชี: นายสมภาร พรมทา

 

 

______รายการหนังสือ______

 

เล่มที่หนึ่ง

รากเหง้าเราคือทุกข์

พินิจคำสอนเรื่องทุกข์ในพุทธศาสนา

ผ่านความคิดของชาร์ลส์ ดาร์วิน

หนังสือดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สอง

เพื่อความเข้าใจปัญหาเรื่องอัตตา-อนัตตา

หนังสือดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สาม

เกิดแก่เจ็บตาย

ทัศนะทางชีวจริยศาสตร์ของพุทธศาสนา

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สี่

Collected Papers

Volume One

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่ห้า

มรณยุติธรรม

ชาวพุทธควรคิดอย่างไรกับโทษประหารชีวิต

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่หก

เล่าความหลัง

รวมข้อเขียนปกิณกะ

เกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา และศิลปะ

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่เจ็ด

มนุษย์สำเนา

ชาวพุทธควรคิดอย่างไรกับการโคลนมนุษย์

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่แปด

กลลเภสัช

ชาวพุทธควรคิดอย่างไร

กับการใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์

เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

ดาว์นโหลดได้อีกไม่นานนี้

 

 

เล่มที่เก้า

เสียงหวีดร้องยามค่ำคืน

นวนิยาย

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สิบ

Love of Wisdom

An Introduction to Philosophy

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สิบเอ็ด

ยุวชนกับศาสนา

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนาสำหรับยุวชน

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สิบสอง

กลับบ้านเก่า

รวมเรื่องสั้น

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สิบสาม

Hinduism

A Short Introduction

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สิบสี่

สายลมที่พัดผ่านสุสาน

ความเรียงว่าด้วยบรรยากาศ

ทางการศึกษาในมหาวิทยาลัย

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สิบห้า

India and Hinduism

A Picture Book

Volume One

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สิบหก

India and Hinduism

A Picture Book

Volume Two

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่สิบเจ็ด

วิถีสู่ปัญญา

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญา

สำหรับชาวบ้านทั่วไป

ดาว์นโหลดได้อีกไม่นานนี้

 

 

เล่มที่สิบแปด

โลกเราก็เท่านี้

กวีนิพนธ์ในความเรียง

ดาว์นโหลดได้อีกไม่นานนี้

 

 

เล่มที่สิบเก้า

ทะเลชีวิต

รวมบทกวี

ดาว์นโหลดได้อีกไม่นานนี้

 

 

เล่มที่ยี่สิบ

แด่ผองเพื่อนผู้ยากไร้และอ่อนแอ

บทกวีเขียนใหม่ล่าสุด

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่ยี่สิบเอ็ด

ความยุติธรรมและการแก้แค้น

นวนิยายขนาดสั้น

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่ยี่สิบสอง

หนึ่งช่วงของความคิด

รวมบทบรรณาธิการในช่วง ๑๗ ปี

จากวารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาว์นโหลดได้เร็วๆนี้

 

 

เล่มที่ยี่สิบสาม

Philosophy

and Language

An Introduction to

Philosophy of Language

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่ยี่สิบสี่

ฉันคิด ฉันจึงพูด

รวมบทสัมภาษณ์ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

เล่มที่ยี่สิบห้า

ความเรียงว่าด้วยประชาธิปไตย

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

 

______ตัวอย่างปกแข็งชุดที่หนึ่ง______

ภาษาอังกฤษ

 

 

ภาษาไทย

 

 

______ตัวอย่างปกแข็งชุดที่สอง______

ภาษาอังกฤษ

 

 

ภาษาไทย

 

 

______ตัวอย่างปกแข็งชุดที่สาม______

ภาษาอังกฤษ

 

 

ภาษาไทย

 

 

นอกจากตัวอย่างข้างต้น ยังมีปกที่ออกแบบเพิ่มตามมาภายหลังอีกหลายแบบ

เอามาให้ดูไม่หมด ในอนาคตก็คงเพิ่มไปเรื่อยๆ ปกแข็งเน้นความคลาสสิก คือเก่าแต่ดูดี

 

­

 

______โครงการดนตรี______

ชุดที่หนึ่ง

สายน้ำที่จากไป

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สอง

น้ำตาและความหวัง

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

ชุดที่สาม

คีตาวารี

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

ชุดที่สี่

ฝนค่ำ

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

ชุดที่ห้า

ในยามป่วยไข้

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

ชุดที่หก

น้ำ

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

ชุดที่เจ็ด

ฟ้าหลังฝน

ดาว์นโหลดได้แล้วที่นี่

 

 

ชุดที่แปด

กีตาร์เดียวดาย

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่เก้า

สุขแซมเศร้า

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบ

สุดกลั้นใจไหว

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบเอ็ด

สะบัดสาย

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบสอง

ฝนฤดูร้อน

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบสาม

ไปเสียเถิดนะ

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบสี่

ไอดินกลิ่นฝน

เปลี่ยนปกใหม่ ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบห้า

มือพาไป

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบหก

กีตาร์เดียวดาย ภาคสอง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบเจ็ด

ลายต่าง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบแปด

เซิ้งงันกัณฑ์หลอน

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบเก้า

ขลุ่ยรัตติกาล

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบ

เปียโนบ้านนอก

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบเอ็ด

ธรณีกรรแสง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบสอง

มาจากสัญชาตญาณ

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบสาม

ดวงตา ดวงใจ

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบสี่

ลานข้าวเมื่อเจ้าไกล

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบห้า

ท่องใจไปในฝัน

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบหก

กีตาร์เดียวดาย ภาคสาม

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบเจ็ด

เพลงชุดใหม่ล่าสุด

ซิมโฟนีร็อค

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบแปด

เพลงชุดใหม่ล่าสุด

ใจ

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

 

ชุดที่ยี่สิบเก้า

เพลงชุดใหม่ล่าสุด

รอบนี้สามช่า

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

 

ชุดที่สามสิบ

เพลงชุดใหม่ล่าสุด

ฝัน

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

 

______โครงการหนังสือภาพเขียน______

ชุดที่หนึ่ง

วสันตกาล

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สอง

ภูผาและป่าไพร

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สาม

ทะเลหมอก

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สี่

Just the Wind Passing

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่หนึ่ง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ห้า

Evening River

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สอง

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่หก

A Golden Pond

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สาม

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่เจ็ด

The Magic Mountain

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สี่

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่แปด

The Ruined Temple

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่ห้า

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่เก้า

My Favorite Thinkers

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่หก

ดาว์นโหลดได้เร็วๆนี้

 

 

ชุดที่สิบ

Gothic House

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่เจ็ด

ดาว์นโหลดที่นี่

 

 

ชุดที่สิบเอ็ด

Portraits

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่แปด

ดาว์นโหลดได้เร็วๆนี้

 

 

ชุดที่สิบสอง

Landscapes

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่เก้า

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบสาม

Village Life

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สิบ

ดาว์นโหลดได้เร็วๆนี้

 

 

ชุดที่สิบสี่

Suan Mokkh

The Garden of Liberation

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สิบเอ็ด

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่สิบห้า

Caves in Thailand

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สิบสอง

ดาว์นโหลดได้เร็วๆนี้

 

 

ชุดที่สิบหก

My Classical

Impressionism

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สิบสาม

ดาว์นโหลดได้เร็วๆนี้

 

 

ชุดที่สิบเจ็ด

Country Road

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สิบสี่

ดาว์นโหลดได้เร็วๆนี้

 

 

ชุดที่สิบแปด

Still Life

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สิบห้า

ดาว์นโหลดได้เร็วๆนี้

 

 

ชุดที่สิบเก้า

Brushes and Lines

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สิบหก

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

ชุดที่ยี่สิบ

Woman

Volume One

รวมภาพเขียนและความคิดจากเฟซบุค ชุดที่สิบเจ็ด

ดาว์นโหลดได้ที่นี่

 

 

 

______พื้นที่ประชาสัมพันธ์______

มีหนังสือบางเล่มของผมที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หนังสือเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน

ผมเลยขออนุญาตนำมาประชาสัมพันธ์ เท่าที่เห็นว่าสมควร ดังนี้ครับ

(ทุกเล่มหาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

 

เล่มที่หนึ่ง

An Essay Concerning

Buddhist Ethics

พิมพ์ปี ๒๐๐๘ จำนวนหน้า ๑๔๒ หน้า

ปกอ่อน กระดาษถนอมสายตา ราคา ๒๕๐ บาท

 

  

 

เล่มที่สอง

Classical

Indian Philosophy

พิมพ์ปี ๒๐๑๑ จำนวนหน้า ๒๙๖ หน้า

ปกอ่อน กระดาษถนอมสายตา ราคา ๒๔๐ บาท